เมื่อเราต้องไปสัมภาษณ์งาน แค่ตอบคำถามเป็นภาษาไทยปกติก็ไม่ค่อยมั่นใจอยู่แล้ว พอต้องมาตอบคําถามสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก็ทำให้หลายคนยิ่งไม่มั่นใจเข้าไปใหญ่ ซึ่งแนวทางคำถามภาษาอังกฤษก็ไม่ค่อยแตกต่างกันมากกับภาษาไทยแค่เราต้องฟังคำถามและตอบเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ให้แนะนำตัวเอง บอกจุดแข็งและจุดอ่อน ถามถึงปัญหาที่เคยเจอในการทำงานและการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญก็คือการเตรียมตัวฝึกตอบคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษล่วงหน้า เพราะยิ่งเราตอบคำถามได้ฉะฉานมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสได้งานมากเท่านั้น วันนี้ JobThai ก็เลยนำคำถามสัมภาษณ์งานที่ต้องเจอ และเทคนิคการตอบเป็นภาษาอังกฤษให้ปังมาฝาก
คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด บริษัทถามเพื่อเปิดโอกาสให้คุณสร้าง First Impression หรือความประทับใจแรกกับเขา ซึ่งหลายคนชอบติดการแนะนำตัวด้วยการบอกว่าเราเป็นใครมาจากไหน แล้วจบแค่นั้น เช่น Good morning. My name is… I ’ thousand from… ซึ่งบอกไปก็ไม่ผิด แต่มันไม่จำเป็น และควรอธิบายสิ่งที่สำคัญมากกว่าเพิ่มเติม เพราะในใบสมัครเขาก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าคุณชื่ออะไร มาจากไหน เรียนจบไหนมา ดังนั้นคำตอบควรจะมีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำงานที่สำคัญเข้าไปด้วย
ถ้าไม่รู้ว่าจะนำเสนอตัวเองยังไง ลองคิดว่าคำถามนี้กำลังถามคุณว่า “ ทำไมบริษัทถึงต้องเลือกคุณ ” “ คุณจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับบริษัทของเรา ” อาจช่วยให้เลือกคำตอบได้ง่ายขึ้น โดยลองเลือกเอาความสำเร็จและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมามาเล่าก็ได้
Table of Contents
ตัวอย่างการตอบ
“ I have been doing social media for the survive three years and I specialize in helping companies and entrepreneurs grow their Facebook fan page. My real lastingness is my ability to understand what your hearing wants. What I ’ m looking for is a party that I could add value to, that I could produce a positive hark back on investing for. ”
จากที่ยกตัวอย่างมา จะแยกออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ตามนี้
เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา
“ I have been doing social media for the last three years and I specialize in helping companies and entrepreneurs grow their Facebook fan page. ” ฉันทำงานด้าน Social Media มาแล้ว 3 ปี มีความเชี่ยวชาญในการช่วยทำให้แฟนเพจ Facebook ของบริษัทและผู้ประกอบการเติบโตขึ้น
เล่าถึงข้อดีของคุณ
“ My real force is my ability to understand what your consultation wants. ” จุดแข็งของฉันคือสามารถเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้
เล่าถึงสิ่งที่กำลังมองหา หรือโอกาสที่คิดว่าคุณจะนำความสามารถไปประยุกต์ใช้ได้
“ What I ’ thousand looking for is a company that I could add prize to, that I could produce a positivist fall on investment for. ” สิ่งที่ฉันกำลังมองหาคือบริษัทที่ฉันสามารถเข้าไปสร้างคุณค่า และทำให้บริษัทได้รับผลแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน
เป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้คุณพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง เหตุผลเพราะเขาอยากรู้ว่าคุณถนัดอะไรหรือทำอะไรได้ดีที่สุด รวมถึงจุดด้อยในการทำงานของคุณ หรือทักษะที่คุณยังทำได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ซึ่งคุณไม่ควรพูดถึงเพียงข้อดีเพียงอย่างเดียว ควรพูดถึงข้อเสียด้วย แต่ควรเป็นข้อเสียที่ไม่เกี่ยวกับงานหลักหรือส่งผลต่อการทำงานโดยตรงมากนัก ให้เอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถพัฒนาได้
นอกจากนั้นเทคนิคง่าย ๆ ในการตอบคำถามให้ดูดี ก็คือการใช้ Signposting Language หรือการส่งสัญญาณให้ผู้ฟังรู้ว่าคุณกำลังพูดถึงเรื่องไหนแล้ว เพื่อช่วยให้อีกฝ่ายคิดตามเราได้ง่ายยิ่งขึ้น เข้าใจง่าย และดูไม่วกไปวนมา
ตัวอย่าง Signposting Language
- first หรือ First of all ขั้นแรก, อย่างแรก เมื่อต้องพูดเกริ่นนำ
- For model หรือ For exemplify เมื่อต้องการยกตัวอย่าง
- On the other hired hand, On the contrary หรือ however ในอีกด้านหนึ่ง, ในขณะเดียวกัน พูดถึงสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อความแรก
- Coming back to… เมื่อต้องการพูดย้อนไปถึงสิ่งที่พูดก่อนหน้านี้
- last เมื่อต้องการสรุปใจความของสิ่งที่พูดไปทั้งหมด
ตัวอย่างคำตอบ
first, I ‘m very good at working with other people. For model, in my final job, I constantly tried to encourage my colleagues and create a estimable atmosphere. On the early hand, I suppose I can be a little snatch careless sometimes, because I ‘m not the kind of person who focuses on details. Coming spinal column to strengths, I ‘m very calm, and I can keep a cool head even in very nerve-racking situations .
อย่างแรกเลย ทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่นของฉันค่อนข้างดีมาก อย่างเช่น งานที่ทำล่าสุด ฉันพยายามให้กำลังใจคอยสนับสนุนเพื่อนร่วมงานและสร้างบรรยากาศที่ดีเสมอ แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้ง ฉันก็อาจจะไม่ได้ระมัดระวังในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางจุดไปบ้าง เพราะฉันเป็นคนไม่ค่อยถนัดในการทำงานที่ต้องลงรายละเอียด กลับมาที่จุดแข็งต่อ ฉันเป็นคนใจเย็น สามารถควบคุมสติไดแม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดมาก ๆ
สำหรับการตอบจุดอ่อนอาจจะต้องระวังและประเมินว่าตำแหน่งงานของคุณเป็นยังไง ถ้าเนื้องานเป็นงานที่วางแผนในภาพกว้าง ไม่ได้ต้องเช็กความถูกต้องที่ต้องแม่นยำทุกอย่าง จุดอ่อนที่บอกว่าเป็นคนไม่ค่อยละเอียดกับเรื่องดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหา
คำถามเหล่านี้ถามถึงการแก้ไขปัญหาที่คุณเคยประสบมาก่อนในการทำงาน หรือการรับมือกับงานที่ท้าทายความสามารถ คำตอบมักเป็นการเล่าถึงปัญหา วิธีการทำงาน หรือการแก้ปัญหาที่คุณเคยทำมาแบบยาว ๆ เพื่อให้คนสัมภาษณ์ได้ฟังรายละเอียดอย่างครบถ้วน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเราตื่นเต้น ก็อาจจะทำให้เราอธิบายได้ไม่ดีนัก จนคำตอบของเราฟังดูไม่ชัดเจน ชวนสงสัย หรืออาจฟังไม่รู้เรื่องเลย ดังนั้นคุณควรจะเตรียมตัวสำหรับคำถามนี้ให้ดีก่อนไปสัมภาษณ์ โดยอาจจะใช้วิธีคิดแบบ STAR
- S – Situation ( What was the site ? ) เกิดอะไรขึ้นตอนนั้น ?
- T – Task ( What did you have to do ? ) หน้าที่ที่คุณต้องทำตอนนั้นคืออะไร ?
- A – Action ( What did you actually do ? ) คุณลงมือทำมันยังไงบ้าง ?
- R – Result ( What the end consequence was ? ) ผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง ?
ตัวอย่าง
ผู้สัมภาษณ์ : Can you tell me about a time when you demonstrated excellent customer service ? “ เล่าถึงเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคุณให้บริการลูกค้าได้ดีเยี่ยมให้ฟังหน่อย ”
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : There was one time when a customer ’ second rate hadn ’ thyroxine arrived, and we didn ’ t know what had happened to it. The customer was very dysphoric, and I had to try to solve the problem for him. I arranged for a replacement to be sent, thinking we could find out what happened to the previous order later. In the end, the customer was felicitous that I could solve his trouble cursorily and plainly .
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการตอบคำถามแบบ STAR คือ
S – situation : What was the situation ?
– There was one time when a customer ’ south rate hadn ’ triiodothyronine arrived. ไม่ได้รับออร์เดอร์ของลูกค้า
– We didn ’ triiodothyronine know what had happened to it. ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับออเดอร์นั้น
– The customer was very infelicitous. ลูกค้าไม่พอใจอย่างมาก
T – undertaking : What did you have to do ?
– I had to try to solve the problem for him. ต้องพยายามแก้ไขปัญหา
A – action : What did you actually do ?
– I arranged for a substitution to be sent. จัดหาของส่งไปให้ลูกค้า
R – resultant role : What was the end solution ?
– The customer was glad. ลูกค้าพอใจ
การตอบคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษนั้นไม่จำเป็นต้องยืดยาว แต่ต้องตอบให้กระชับ ตรงจุด และเรียบเรียงการพูดให้ดี ใครที่กำลังจะไปสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ ก็อย่าลืมเอาเทคนิคที่เราบอกไปฝึกซ้อม จะได้ตอบแบบคล่องแคล่วมั่นใจ เพราะแน่นอนว่าคนจะเก่งได้ต้องผ่านการฝึกฝนมาแล้วทั้งนั้น ขอให้ทุกคนที่กำลังไปสัมภาษณ์งานประสบความสำเร็จ ผ่านการสัมภาษณ์และได้งานดี ๆ แบบที่ตัวเองหวังไว้
|
JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
ที่มา :
JADOH Learning